Pneumatic & Hydraulic
หมายถึง การนำลมอัดมาเป็นตัวกลางในการส่งถ่ายพลังงานหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์การทำงานของกลไกต่าง ๆ โดยสามารถควบคุมลมอัดที่เป็นตัวกลางนี้ได้ “ PNEUMATICS” แผลงมาจากคำศัพท์ภาษากรีกว่า “ PNEUMA ” หมายถึง ลมหรือลมหายใจ ซึ่งมนุษย์รู้จักนำเอาลมมาเป็นตัวกลางเพื่อใช้ประโยชน์ตั้งแต่ในอดีต ไม่ว่าจะเป็นลมที่มาจากร่างกายของมนุษย์เอง ลมจากธรรมชาติ หรือลมจากอุปกรณ์ที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยให้ลมมีความแรงพอ เช่น การเป่าลมจากปาก การใช้มือพัด การเป่าไม้ซางในการล่าสัตว์ กังหันลม ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆได้มีการใช้เพื่อช่วยในการทำงานอย่างแพร่หลายลมอัด โดยเฉพาะการนำมาใช้ในขับและควบคุมอุปกรณ์ เครื่องมือกลต่าง ๆ
1. นิวแมติกส์ความดันต่ำ (low pressure pneumatics) ค่าความดันไม่เกิน 150 Kpa
(1.5 bar ,21.75 psi) ใช้กับระบบฟลูอิดลอจิก (fluid logic ) และระบบฟลูอิดิกส์ (fluidics)
2. นิวแมติกส์ความดันปกติ (normal pressure pneumatics) ใช้กับอุปกรณ์นิวแมติกส์อุตสาหกรรม
มีค่าความดันอยู่ระหว่าง 150-1,600kPa (1.5 – 16 bar)
3. นิวแมติกส์ความดันสูง (high pressure pneumatics) ความดันตั้งแต่ 1,600 kPa (16 bar,
132 psi ) เหมาะกับงานชนิดพิเศษที่ต้องการความดันสูง ๆ เช่นหัวลมบังคับ (sensor) แต่ในปัจจุบันก็ได้นำมาใช้ร่วมกับนิวแมติกส์อุตสาหกรรม โดยนำมาใช้ในส่วนควบคุม เป็นต้น
ข้อดีของลมอัด สำหรับข้อดีของลมอัดมีดังต่อไปนี้
1. ทนต่อการระเบิด ลมอัดไม่มีอันตรายจากการระเบิดหรือติดไฟ ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ราคา
แพงสำหรับป้องกันการระเบิด
2. รวดเร็ว ลมอัดมีความรวดเร็วในการทำงานสูง ลูกสูบมีความเร็วในการทำงาน 1 ถึง 2 m/s ถ้าเป็น
ลูกสูบแบบพิเศษให้ความเร็วในการทำงานได้ถึง 10 m/s
3. การส่งถ่ายง่าย การส่งลมอัดไปตามท่อในระยะไกลๆ สามารถทำได้ง่าย และลมอัดที่ใช้แล้วไม่ต้องนำ
กลับ ปล่อยทิ้งออกสู่บรรยากาศได้เลย
4. เก็บรักษาได้ง่าย ลมอัดสามารถเก็บกักไว้ในถังเก็บลม ดังนั้นอุปกรณ์ทำงานสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง
จากการใช้ลมอัดนี้
5. ความปลอดภัยจากงานเกินกำลัง อุปกรณ์ที่ใช้กับระบบลมอัด จะไม่เกิดการเสียหายถึงแม้ว่างาน เกิน
กำลัง (Over load)
6. ควบคุมอัตราความเร็ว ความเร็วของลูกสูบสามารถปรับได้ง่ายๆ ตามความต้องการโดยใช้ลิ้น ควบคุม
อัตราไหลของลม
7. การควบคุมความดัน ความดันของลมอัดที่ต้องการ สามารถควบคุมได้ง่ายโดยใช้ลิ้นควบคุมความดัน
8. สะอาด ลมอัดมีความสะอาดทำให้อุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้สะอาดหมดจด
9. โครงสร้างง่าย ๆ เช่นลูกสูบลมจะมีโครงง่าย ๆ เช่น ลูกสูบลมจะมีโครงสร้างง่าย ๆ ธรรมดา
10. การตั้งระยะช่วงชัก โดยการปรับระยะหยุดหรือช่วงชักของลูกสูบ ทำให้สามารถปรับระยะช่วงชักได้ทุก
ตำแหน่งจากน้อยสุดจนถึงมากสุดตามที่ต้องการ
11. อุณหภูมิขณะใช้งานลมอัดที่สะอาด (ปราศจากความชื้น) สามารถทำงานได้ดีในช่วงอุณหภูมิที่กว้าง
12. ไม่ต้องใช้ท่อลมกลับ ลมอัดที่ใช้แล้วสามารถปล่อยทิ้งสู่บรรยากาศได้เลย ไม่จำเป็นต้องมีท่อนำกลับ
13. ขนาดกะทัดรัด ทนทาน น้ำหนักเบา และซ่อมแซมบำรุงได้ง่าย

1. ลมอัดอัดตัวได้ เหตุที่อากาศสามารถอัดตัวได้ ทำให้การเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ทำงาน (ลูกสูบ) ไม่
สม่ำเสมอ
2. ลมอัดมีความชื้น ลมอัดถูกทำให้เย็นลงหลังจากการถูกอัดเข้าในถังเก็บ ซึ่งทำให้เกิดการกลั่นตัว
ของหยดน้ำ ภายในถังเก็บลมและท่อลมในวงจร
3. ลมอัดต้องการเนื้อที่มาก เนื่องจากความดันที่ใช้ในวงจรนิวแมติกส์ไม่สูงมาก(ประมาณ 6 bar )
ทำให้กระบอกสูบลมต้องมีขนาดใหญ่มาก ถ้าต้องการใช้แรงมาก ๆ
4. ลมอัดมีเสียงดัง เมื่อลมอัดระบายออกจากอุปกรณ์ทำงาน ( ลูกสูบ) ไอเสียที่คายออกมาจะทำให้
เกิดเสียงดังมาก ดังนั้นจึงต้องใช้ตัวเก็บเสียง( silencer)
5. ความดันของลมอัดเปลี่ยนแปลง ความดันของลมอัดจะเพิ่มขึ้นถ้าอุณหภูมิสูงและความดันจะ
ลดลงถ้าอุณหภูมิลดลง
ในปัจจุบันนี้แทบจะกล่าวได้ว่า โรงงานทุกโรงงานที่เกิดขึ้นใหม่จะต้องรู้จักการใช้ลมอัดให้เป็นประโยชน์ ทุกวันนี้ขอบข่ายการใช้งานของระบบนิวแมติกส์ได้แพร่หลายขึ้นมาก และได้วิวัฒนาการจากการใช้ระบบการทำงานง่ายๆ ธรรมดา เป็นระบบการทำงานโดยอัตโนมัติด้วยเครื่องจักรกลอันทันสมัย
หน่วยงานที่ใช้ระบบนิวแมติกส์ ในหน่วยงานที่ใช้ระบบนิวแมติกส์สามารถแบ่งได้ดังนี้
1. นิวแมติกส์อุตสาหกรรมการผลิต (industrial pneumatics for production) เช่น งานผลิต
เฟอร์นิเจอร์ ผลิตชิ้นส่วนกลไก เป็นต้น
2. นิวแมติกส์เครื่องมือ (pneumatics for instrumentation) เช่น เครื่องมือวัดอุณหภูมิ,วัดความดัน
เป็นต้น
3. นิวแมติกส์งานก่อสร้าง (pneumatics for building construction) เช่น งานขุดเจาะต่าง ๆ
4. นิวแมติกส์งานขนถ่ายอุตสาหกรรม (pneumatics for material handing) เช่น งานเอกสาร
หีบห่อ เป็นต้น
นิวแมติกส์สาขาอื่น ๆ เช่น งานเล่น , กีฬา, รถไฟ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น