ภาพจ๊อบรวมๆ 3

ภาพจ๊อบรวมๆ4

ภาพจ๊อบรวมๆ2

วันจันทร์ที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แหล่งกำเนิดไฟฟ้า

แหล่งกำเนิดไฟฟ้า( Power Souse)
          แหล่งกำเนิดไฟฟ้า( Power Souse) คือต้นกำเนิดของกำลังไฟฟ้าหรือแรงเคลื่อนไฟฟ้าซึ่งมีวิธีการต่างๆตั้งแต่ยุคแรกๆที่ค้นพบแหล่งกำเนิดไฟฟ้าจนมาถึงยุคปัจจุบัน และพัฒนาตลอดเวลาเพื่อให้ได้แหล่งกำเนิดที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูงสุด แหล่งกำเนิดไฟฟ้าได้มาจากแหล่งต่างๆดังนี้
1.เกิดจากการเสียดสีหรือขัดถู(Friction)
2.เกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี(Chemicals)
3.เกิดจากความร้อน (Heat)
4.เกิดจากแสง(Light)
5.เกิดจากแรงกดอัด(Pressure)
6.เกิดจากสนามแม่เหล็ก(Magnetism) 
แหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากแหล่งต่างๆเหล่านี้ จะทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตและไฟฟ้ากระแส 
รูปที่ แหล่งกำเนิดไฟฟ้าจากแหล่งต่างๆ 

 ไฟฟ้าสถิต (Static Electricity)
        ไฟฟ้าสถิตเรียกว่า สแตติค อิเล็กตริกซิตตี้(Static Electricity) เกิดจากการเสียดสีของวัตถุ เช่นแท่งอำพัน นำมาขัดถูกับผ้าขนสัตว์ แท่งอำพันจะเกิดการเสียโปรตอน (มีประจุเป็นบวกทำให้แท่งอำพันแสดงประจุไฟฟ้าลบออกมา สามารถดูดวัตถุเบาๆ เช่นเศษกระดาษ นอกจากนี้ไฟฟ้าสถิตยังเกิดจากธรรมชาติ เช่น ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า ฟ้าร้อง เป็นต้น 
รูปที่ ประจุไฟฟ้าเกิดขึ้น เมื่อนำผ้าขนสัตว์ขัดถูกับแท่งอำพัน
 ไฟฟ้ากระแส
        ไฟฟ้ากระแสคือ แหล่งกำเนิดไฟฟ้าที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมา ไฟฟ้ากระแส คือไฟฟ้าที่มีการเคลื่อนที่ของ อิเล็กตรอน ไปตามสายตัวนำหรือสายไฟฟ้าด้วยความเร็วเท่าแสงคือ 186,000 ไมล์ ต่อวินาที หรือ 300 ล้านเมตรต่อวินาที
รูปที่ แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง

 ไฟฟ้ากระแสตรง
        ไฟฟ้ากระแสตรง เรียกว่า ไดเร็ค เคอเรนท์ (Direct Current ) เรียกชื่อย่อว่า ไฟดีซี (DC) ไฟฟ้ากระแสตรง คือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนที่มีทิศทางการไหลเพียงทิศทางเดียว โดยกระแสอิเล็กตรอนจะไหลจากขั้วลบไปยังขั้วบวก
    แหล่งกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง ที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมี แบ่งตามลักษณะการใช้งานได้ ชนิด คือ
                1.เซลล์ไฟฟ้าปฐมภูมิ เรียกว่า ไพมารี่เซลล์ ( Primary Cell)  เป็นเซลล์ที่เมื่อใช้งานจนหมดประจุไฟฟ้าแล้วไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีก เช่น ถ่านไฟฉายที่ใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าทั่วๆไป
               2.เซลล์ไฟฟ้าทุติยภูมิ เรียกว่า เซคคั่นดารี่เซลล์ (Secondary Cell) เซลล์ไฟฟ้าแบบทุติยภูมิ เมื่อมีการประจุไฟฟ้าเข้าไปในเซลล์ไฟฟ้าเต็มอัตราที่ระบุไว้ในเซลล์ไฟฟ้าแล้ว เมื่อนำมาใช้งานประจุไฟฟ้าจะลดลงจนหมดไป แต่เราสามารถที่จะนำไปประจุไฟฟ้าใหม่ได้ เพื่อนำไปใช้งานได้อีก ลักษณะนี้คือ แบตเตอรี่รถยนต์ ถ่านนิเกิลแคดเมี่ยม ( Nickel Cadmium) เป็นต้น


 ถ่านไฟฉาย
               ถ่านไฟฉาย มีโครงสร้างคือ ตัวถังภายนอกจะเป็นสังกะสี ทำหน้าที่เป็นขั้วลบ ภายในจะมีแท่งคาร์บอน (Carbon) ทำหน้าที่เป็นขั้วบวก โดยมีสารเคมีเพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาทางเคมีและก่อให้เกิดประจุไฟฟ้า สารเคมีที่ใช้จะเป็นพวกแอมโมเนียร์คลอไรด์ และแมงกานีสไดอ็อกไซด์ โดยจะมีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 1.5 โวลต์เป็นมาตรฐาน
       ถ่านไฟฉายที่นิยมใช้งานโดยทั่วไป จะมี ขนาด คือ ขนาดใหญ่ กลาง เล็ก การจ่ายไฟดีซี แต่ละขนาดจะให้แรงดันไฟ 1.5 V (ยกเว้นกรณีขนาดพิเศษและแต่ละขนาดจะมีขั้วบวกและขั้วลบที่แน่นอน

รูปที่ ตัวอย่างถ่านไฟฉายที่ใช้งานทั่วไป

                ถ่านไฟฉาย UM-1ST เป็นถ่านไฟฉายขนาดใหญ่ มีแรงดันไฟฟ้า 1.5 โวลต์ แอมแปร์
                ถ่านไฟฉาย UM-2SP เป็นถ่านไฟฉายขนาดกลาง มีแรงดันไฟฟ้า 1.5 โวลต์ แอมแปร์
                ถ่านไฟฉาย UM-3SP เป็นถ่านไฟฉายขนาดเล็ก มีแรงดันไฟฟ้า 1.5 โวลต์ แอมแปร์

รูปที่ ถ่านไฟฉายชนิด โวลต์ แอมแปร์

  ถ่านไฟฉายชนิดพิเศษ
        ถ่านไฟฉายชนิดพิเศษ ผลิตออกมาเพื่อสะดวกกับอุปกรณ์ที่ใช้ตลอด เหมาะสมกับการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆและเก็บประจุไว้ได้นาน เช่นถ่านไฟฉาย เฮฟวี่ดิวตี้”  ( Heavy Duty) และ “ ซูเปอร์ เฮฟวี่ดิวตี้”  ( Super  Heavy Duty) เซลล์ไฟฟ้าแบบนี้ สร้างมาจากสารอัลคาร์ไลน์ หรือเรียกว่าถ่านไฟฉายแบบ อัลคาร์ไลน์” ลักษณะจะเหมือนกับถ่านไฟฉายทั่วๆไป คือส่วนเปลือกนอกจะเป็นขั้วลบ(ด้านล่างและขั้วด้านบนจะเป็นขั้วบวก อายุการใช้งานจะนานกว่าถ่านไฟฉายธรรมดา
รูปที่ ถ่านไฟฉายแบบควอทซ์
                 ยังมีถ่านไฟฉายแบบใช้งานกับนาฬิกา “ ควอทซ์,กล้องถ่ายรูป,เครื่องคิดเลข,เกมกด ภาษาชาวบ้านเรียกว่า ถ่านแบบ “ กระดุม” ถ่านไฟฉายแบบนี้จะมีชนิด เมอร์คิงรี่อ๊อกไซด์,ชนิดลิเทียม ชนิดแคดเมียม,ชนิดนิเกิลแคดเมียม เป็นต้น 

แบตเตอรี่(Battery)
         แบตเตอรี่  เป็นเซลล์ไฟฟ้าแบบเปียกเรียกว่า แบบทุติยภูมิ เซลล์ไฟฟ้าแบบนี้ เมื่อทำการประจุ หรือชาร์จ ( Charge) จนเต็มแล้ว เมื่อนำไปใช้งานประจุไฟฟ้าที่เก็บไว้จะค่อยๆลดลง แต่จะสามารถนำมาชาร์จใหม่ได้
                ส่วนประกอบด้วยแผ่นโลหะ แผ่น คือ แผ่นบวก ( Positive Plate) และแผ่นลบ (Negative Plate)  มีสารเคมี คือ กรดซัลฟูริกเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาภายในประกอบด้วยช่องเซลล์ไฟฟ้า แต่ละช่องมีแรงเคลื่อนไฟฟ้าโวลต์ และที่สำคัญจะมีน้ำกลั่นเป็นน้ำยาทำปฏิกิริยาเคมี

รูปที่ แสดงโครงสร้างแบตเตอรี่
ส่วนประกอบของแบตเตอรี่
1. ขั้วแบตเตอรี่ (Pole)
2.  แผ่นธาตุลบ (Negative Plate)
3.  แผ่นกั้น (Separator & Glass mat)
4.  แผ่นธาตุบวก (Positive Plate)
5.  จุกปิด (Vent Plug)
6.  เปลือกหม้อและฝาหม้อ (Container & Lid)
7.  ขั้ว (Terminal )

 ตัวแปร
        ตัวแปรหมายถึงปริมาณซึ่งสามารถที่จะกระทำการเปลี่ยนค่าได้อย่างง่ายดายและมีหน่วยเสมอ  ในวงจรไฟฟ้าจากสมการกฎของโอห์มคือ  แรงดันเท่ากับกระแสคูณด้วยความต้านทาน  หรือ V = IR  จากกฎนี้จะเห็นได้ว่าปริมาณที่เป็นตัวแปรคือ  แรงดันและกระแสไฟฟ้า   ส่วนความต้านทานมีค่าคงที่      
              
พารามิเตอร์
         พารามิเตอร์เป็นค่าคงที่  ซึ่งมีลักษณะคุณสมบัติที่ได้มาจากความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปร  ปกติในวงจรไฟฟ้าค่าพารามิเตอร์แสดงให้เห็นถึงลักษณะสมบัติของวงจรซึ่งขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ของวงจรนั้น ๆ   ค่าที่หมายถึงปริมาณที่ไม่เปลี่ยนแปลง  และใช้เป็นตัวอ้างอิงเปรียบเทียบกับตัวแปรอื่น ๆ  แต่ค่าพารามิเตอร์ในวงจรไฟฟ้านั้นบางครั้งสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงไปได้เช่นกันโดยขึ้นอยู่กับสภาวการณ์การทำงานของวงจร

 หน่วย
        หน่วยหรือยูนิตบอกให้ทราบถึงขนาดหรือจำนวนของปริมาณ  ปริมาณที่เป็นตัวเลขทั้งหมดที่มีอยู่ในวงจรไฟฟ้าจะไม่มีความหมายใด ๆ ทั้งสิ้น  ถ้าหากว่าไม่เขียนค่ากำหนดเอาไว้
     หน่วยบ่งให้ทราบถึงค่าของปริมาณที่ระบุไว้อย่างชัดแจ้ง  และสามารถนำไปเปรียบเทียบกับปริมาณอื่น ๆ  ได้  ตัวอย่างของปริมาณทางไฟฟ้า  เช่น  แรงดันมีหน่วยเป็นโวลต์  กระแสมีหน่วยเป็นแอมแปร์  กำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็นวัตต์  เป็นต้น

 ระบบหน่วย  SI
        ในการประชุมนานาชาติทั่วไปครั้งที่  11 เกี่ยวกับน้ำหนักและการวัดในปี ค.. 1960  ได้ตกลงให้นำเอาระบบหน่วย SI  ( International  System of   Units ) นี้มาใช้
หน่วย SI ประกอบด้วยหน่วยพื้นฐาน หน่วย  ดังแสดงในตาราง 

ปริมาณ

ชื่อย่อหน่วยพื้นฐาน

สัญลักษณ์
ความยาว
มวล
เวลา
กระแสไฟฟ้า
อุณหภูมิ
ความเข้มของแสงสว่าง
เมตร
กิโลกรัม
วินาที
แอมแปร์
เคลวิน
เคนเดลต้า

m
Kg
s
A
K
cd
     ปกติอุณหภูมิที่เป็นตัวแปรเสมอ  และมีผลต่อคุณสมบัติของวัสดุทางไฟฟ้าเป็นอย่างมาก   หน่วยของอุณหภูมิอีกหน่วยหนึ่งที่เรามักจะพบเสมอคือ  องศาเซลเซียส  การเปลี่ยนองศาเซลเซียสให้เป็นองศาเคลวินสามารถทำได้โดการบวก 273.15  เข้าไป หรืออุณหภูมิ  0  องศาเซลเซียสมีค่าเท่ากับ  273.15  -องศาเคลวิน
 ตัวอย่าง   ความสัมพันธ์ระหว่างองศาเซลเซียสกับองศาฟาเรนไฮต์
                                องศาเซลเซียส = (องศาเฟาเรนไฮต์ - 32) 
กำหนดให้อุณหภูมิของห้องเท่ากับ 86 องศาฟาเรนไฮต์ จงเปลี่ยนให้เป็นองศาเซลเซียสและเคลวิน
วิธีทำ      อุณหภูมิเป็นองศาเซลเซียส =            องศาเซลเซียส
อุณหภูมิเป็นองศาเคลวิน  องศาเซลเซียส + 273.15
                                                = 30 + 273.15 =303.15 องศาเคลวิน


สัญลักษณ์
        การเขียนคำหรือข้อความที่มีความยาว ๆ นั้น  ถ้าหากว่าเป็นการเขียนที่ซ้ำๆ กันหลายครั้ง  แล้วจะทำให้ยุ่งยากมาก  ฉะนั้นเราจึงใช้สัญลักษณ์เขียนแทน  ซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการเขียนและสั้นด้วย
     การเขียนสัญลักษณ์แทนปริมาณและหน่วยนั้นจะเห็นได้ว่ามีจำนวนมากและสลับซับซ้อนด้วย  ฉะนั้นเพื่อที่จะลดความยุ่งยากและสลับซับซ้อนดังกล่าวข้างต้นเราจึงแบ่งการเขียนตัวอักษรออก เป็น  2  ลักษณะ  กล่าวคือ  ถ้าเขียนตัวตรงก็หมายถึงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนหน่วย  และถ้าแบบตัวเอนก็หมายถึงสัญลักษณ์ที่ใช้แทนปริมาณ ดังตัวอย่างเช่นVหมายถึง โวลต์ (หน่วย)และ V  หมายถึงแรงดัน ปริมาณ หรือ หมายถึงความดันปริมาณ )และ Pหมายถึงพาสคาล หน่วย )



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น