หลอดไฟฟ้า
หลอดไฟฟ้าที่มีใช้กันอยู่มีหลายชนิดด้วยกัน หลอดแต่ละชนิดก็มีคุณสมบัติทางแสงและทางไฟฟ้าต่างกัน ในการเลือกหลอดเพื่อการประหยัดพลังงานไฟฟ้า ต้องเลือกหลอดที่มีประสิทธิผล (ลูเมนต่อวัตต์) สูง อายุการใช้งานนาน และคุณสมบัติทางแสงของหลอดด้วย แต่งานบางอย่างก็ต้องเลือกใช้หลอดที่ไม่ประหยัดพลังงาน ฉะนั้นการนำหลอดไปใช้งานต้องพิจารณาความเหมาะสมในการนำไปใช้
2.1 ปัจจัยที่ควรพิจารณาในการเลือกหลอดไฟฟ้า
การเลือกใช้หลอดไฟฟ้าเพื่อใช้งานต้องพิจารณาหลายๆองค์ประกอบร่วมกันก่อนที่จะนำไปใช้งาน
2.1.1 ค่าฟลั๊กซ์การส่องสว่าง (Luminous flux)
หมายถึง ปริมาณแสงสว่าง หน่วยเป็นลูเมน
2.1.2 ค่าประสิทธิผล (Efficacy)
หมายถึง ปริมาณแสงที่ออกมาต่อวัตต์ที่ใช้ (ลูเมนต่อวัตต์) หลอดที่มีค่าประสิทธิผลสูงหมายความว่าหลอดนี้ให้ปริมาณแสงออกมามากแต่ใช้วัตต์ต่ำ
2.1.3 ความถูกต้องของสี (Color rendering)
หมายถึง สีที่ส่องไปถูกวัตถุให้ความถูกต้องสีมากน้อยเพียงใด มีหน่วยเป็น เปอร์เซนต์ หลอดที่มีค่าความถูกต้อง 100% หมายความว่าเมื่อใช้หลอดนี้ส่องวัตถุชนิดหนึ่งแล้วสีของวัตถุที่เห็นไม่มีความเพี้ยนของสี
2.1.4 อุณหภูมิสี (Color temperature)
หมายถึง สีของหลอดเทียบได้กับสีที่เกิดเนื่องจากการเผาวัตถุดำอุดมคติให้ร้อนที่อุณหภูมินั้น เช่น หลอดอินแคนเดสเซนต์มีอุณหภูมิสีประมาณ 3000 องศาเคลวิน
2.1.5 มุมองศาในการใช้งานหลอด (Burning position)
หมายถึง มุมองศาในการใช้งานหลอด สำหรับการติดตั้งหลอดตามคำแนะนำของผู้ผลิต
2.1.6 อายุการใช้งาน (Life time)
หมายถึงอายุการใช้งานของหลอดโดยเฉลี่ยของหลอด หน่วยเป็นชั่วโมง
2.2 หลอดอินแคนเดสเซนต์
หลอดอินแคนเดสเซนต์เป็นหลอดที่ไม่ประหยัดพลังงาน การใช้หลอดประเภทนี้ใช้เฉพาะในพื้นที่ที่ต้องการวัตถุประสงค์ทางด้านความสวยงาม แสงสี หรือ กรณีที่ต้องการเน้นโดยที่หลอดอื่นทำไม่ได้ สามารถหรี่ไฟได้โดยง่าย ราคาถูก และจุดติดทันที
ก) ถ้าจำเป็นต้องใช้หลอดประเภทนี้หลอดฮาโลเจนเป็นหลอดที่ประหยัดที่สุดในตระกูลนี้ แต่ก็ยังถือว่าเป็นหลอดไม่ประหยัดพลังงานเมื่อเทียบกับหลอดชนิดอื่นๆ
ข) กรณีที่จำเป็นต้องใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์ เราสามารถยืดอายุการใช้งานของหลอดได้โดยใช้สวิตช์หรี่ไฟ สำหรับหลอดฮาโลเจน การหรี่ไฟอาจทำให้อายุการใช้งานสั้น
ค) หลอดฮาโลเจนประหยัดกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์ทั่วไป และมีอายุการใช้งานนานกว่าประมาณ 2-3 เท่า
ง) ในการติดตั้งหลอดฮาโลเจน หากมือไปสัมผัสด้านในทำให้หลอดมีอายุการใช้งานสั้น ถ้าเผลอไปจับถูกตัวหลอดให้ทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์
จ) หากหลีกเลี่ยงได้ ไม่ควรใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์หรือหลอดฮาโลเจนในการให้แสงสว่างมากนัก เนื่องจากค่าประสิทธิภาพผล (ลูเมนต่อวัตต์) ซึ่งทำให้สิ้นเปลืองพลังงานมาก
ฉ) หลอดประเภทนี้ใช้กับงานส่องเน้น ซึ่งสามารถให้แสงเป็นวงหรือจุดได้ซึ่งหลอดประเภทอื่นให้ไม่ได้
ช) หลอดประเภทนี้มีข้อดีกว่าหลอดประเภทอื่นในเรื่องการติดทันทีเมื่อป้อนไฟฟ้า และเมื่อแรงดันต่ำก็ยังให้แสงสว่างได้ แต่ปริมาณแสงอาจลดลง เหมาะสำหรับงานแสงสว่างฉุกเฉินที่มีสภาพการจ่ายไฟไม่ดี
ซ) การใช้สวิตช์หรี่ไฟ ให้ระวังเรื่องของฮาร์มอนิกที่อาจจะไปรบกวนเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ และมีเสียงฮัมที่สวิตช์หรี่ไฟ
ตาราง 2.1 คุณสมบัติโดยประมาณของหลอดชนิดต่างๆ
ชนิดของหลอดไฟ | คุณสมบัติของหลอด | ||||||
ช่วงกำลังที่มี (วัตต์) | ปริมาณแสงที่ให้ (ลูเมน, lm) | ความเข้มการส่องสว่าง (แคนเดลา, Cd) | ประสิทธิภาพของการส่องสว่าง (ลูเมน/วัตต์, lm/W) | อุณหภูมิสี (เคลวิน, K) | ดัชนีความถูกต้องของสี | อายุการใช้งาน (ชั่วโมง) | |
1. หลอดอินแคนเดสเซนต์ # หลอดไส้ธรรมดา | 15 - 200 | 90 - 3,150 | 5 - 12 | 2,500 - 2,700 | 100 | 1,000 | |
# หลอดไส้ฟลักซ์การส่องสว่างสูง - ชนิดมีตัวสะท้อนแสง | 25 - 300 | 210 - 1,300 | 180 - 40,000 | 8 - 13 | 2,500 | 100 | 1,000 |
# หลอดไส้ทังสเตน-ฮาโลเจน - แรงดันปกติ - แรงดันต่ำ | 40 - 2,000 5 - 150 | 490 - 44,000 60 - 3,200 | 300 - 48,000 (เฉพาะที่มีตัวสะท้อนแสง) | 12 - 22 12 - 22 | 2,800 3,000 | 1,500 - 3,000 2,000 - 3,000 | |
2. หลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ # หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา - ชนิดตรง (T8) - ชนิดกลม (T9) | 10 - 58 22 - 40 | 450 - 4,600 1,350 - 2,800 | 45 - 80 60 - 70 | 2,700 - 6,500 2,700 - 6,500 | 60 - 80 60 - 80 | 8,000 - 10,000 5,000 - 8,000 | |
# หลอดฟลูออเรสเซนต์ฟลักซ์การส่องสว่างสูง - ชนิดตรง (T8) - ชนิดตรง (T5) | 18 - 58 14 - 54 | 1,300 - 5,200 1,300 - 5,200 | 73 - 93 90 - 93 | 2,700 - 6,500 2,700 - 6,500 | 80 - 90 80 - 90 | 8,000 - 10,000 10,000 - 12,000 | |
# หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ - ชนิดมีบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์ในตัว - ชนิดมีบัลลาสต์แกนเหล็กในตัว - ชนิดไม่มีบัลลาสต์ในตัว | 5 - 23 9 - 25 5 - 55 | 200 - 1,500 350 - 1,200 250 - 3,200 | 40 - 65 35 - 50 40 - 80 | 2,700 - 6,500 2,700 - 6,500 2,700 - 6,500 | 80 - 90 80 - 90 80 - 90 | 7,500 - 10,000 7,500 - 10,000 7,500 - 10,000 | |
# หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ | 18 - 180 | 1,800 - 32,000 | 100 - 180 | 2,000 | 0 - 20 | 22,000 - 24,000 | |
3. หลอดปล่อยประจุความดันไอสูง # หลอดไอปรอมแบบใช้บัลลาสต์ # หลอดไอปรอทแบบไม่ใช้บัลลาสต์ | 50 - 1,000 80 - 160 | 1,800 - 58,000 | 30 – 60 | 3,000 - 4,200 | 40 - 60 | 20,000 - 24,000 | |
# หลอดโซเดียมความดันไอสูง | 35 - 1,000 | 2,400 - 130,000 | 70 - 130 | 2,000 - 2,200 | 30 - 50 | 18,000 - 24,000 | |
# หลอดเมทัลฮาไลด์ | 35 - 2,000 | 2,400 - 240,000 | 60 - 120 | 2,900 - 6,000 | 60 - 90 | 8,000 - 15,000 |
หมายเหตุ 1. กรณีที่เลือกใช้หลอดของผลิตภัณฑ่ใดให้ยึดคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์นั้นเป็นเกณฑ์
2. อายุการใช้งานในตาราง หมายถึง อายุการใช้งานที่กำหนดวิธีการทดสอบตามมาตรฐาน มอก. หรือ IEC
ตาราง 2.2 การเลือกใช้งานหลอดแบบต่างๆ
ชนิดของหลอดไฟ | ลักษณะการใช้งานที่นิยมโดยทั่วไป | |||||||||||
ให้แสงสว่างในบ้านพักอาศัย | ให้แสงสว่างในห้องสำนักงาน | ให้แสงสว่างฉายภายในอาคารสูง,โรงงาน | ให้แสงสว่าง ภายนอกอาคาร | ให้แสงสว่างไฟถนน | ให้แสงสว่าง ตกแต่ง ประดับ | ไปส่องอาคารส่องวัตถุสูง | ไฟส่องในระยะไกล | ไฟส่องสินค้าห้องแสดงสินค้า | ไฟแสงสว่างในห้องอาหาร | ไฟส่องสว่างในสนามกีฬา | ไฟส่องสว่างในที่สาธารณะ | |
1. หลอดอินแคนเดสเซนต์ # หลอดไส้ธรรมดา | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ||||||||
# หลอดไส้ฟลักซ์การส่องสว่างสูง - ชนิดมีตัวสะท้อนแสง | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ||||||||
# หลอดไส้ทังสเตน-ฮาโลเจน - แรงดันปกติ - แรงดันต่ำ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ||||||||
2. หลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ # หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา - ชนิดตรง (T8) - ชนิดกลม (T9) | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ||||
# หลอดฟลูออเรสเซนต์ฟลักซ์การส่องสว่างสูง - ชนิดตรง (T8) - ชนิดตรง (T5) | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | |||||
# หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ - ชนิดมีบัลลาสต์อิเล็คทรอนิกส์ในตัว - ชนิดมีบัลลาสต์แกนเหล็กในตัว - ชนิดไม่มีบัลลาสต์ในตัว | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | |||||
# หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ | ¡ | ¡ | ¡ | |||||||||
3. หลอดปล่อยประจุความดันไอสูง # หลอดไอปรอมแบบใช้บัลลาสต์ # หลอดไอปรอทแบบไม่ใช้บัลลาสต์ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ||||||||
# หลอดโซเดียมความดันไอสูง | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | |||||
# หลอดเมทัลฮาไลด์ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ | ¡ |
2.3 หลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำ
หลอดปล่อยประจุความดันไอต่ำมี 3 ชนิดคือ หลอดฟลูออเรสเซนต์ หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ และหลอดโซเดียมความดันไอต่ำ
2.3.1 หลอดฟลูออเรสเซนต์
ก) กรณีที่ใช้กับเพดานสูงเกินกว่า 5-7 เมตร หลอดประเภทนี้ไม่เหมาะเพราะต้องใช้จำนวนโคมมาก หรืออายุการใช้งานไม่มากพอ ทำให้ต้องเปลี่ยนหลอดบ่อย ต้องเสียค่าใช้จ่ายในเรื่องการบำรุงรักษามาก
ข) ถ้าจำเป็นต้องใช้หลอดประเภทนี้ที่เพดานสูงเกินกว่า 7 เมตรเช่นที่ใช้ในหลืบ เป็นต้น อาจใช้หลอดและวงจรแรปิดสตาร์ท(Rapid start) ซึ่งมีอายุการใช้งานประมาณ 20000 ชม. เมื่อเทียบกับหลอดอุ่นไส้(Preheat)ที่มีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ย 8000-10000 ชม.
ค) การใช้งานของหลอดฟลูออเรสเซนต์ควรเลือกสีหลอดใช้ให้ถูกต้องจะทำให้คุณภาพการให้แสงดีขึ้น สีของหลอดฟลูออเรสเซนต์มีทั้งหลอด เดไลท์ (6500 K) คูลไวท์ (4200- 4500 K) และวอร์มไวท์ (2700-3000K)
ง) งานที่ต้องการความส่องสว่างสูงกว่า 500 ลักซ์ ควรใช้หลอดเดไลท์
จ) งานที่ต้องการความส่องสว่าง 300-500 ลักซ์ ควรใช้หลอดคูลไวท์
ฉ) งานที่ต้องการความส่องสว่างต่ำกว่า 300 ลักซ์ ควรใช้หลอดวอร์มไวท์
ช) ความส่องสว่างกับชนิดสีของหลอดที่แนะนำให้ใช้เป็นพื้นฐานเท่านั้น บางครั้งอาจไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ดังกล่าว เช่นพื้นที่ใกล้เคียงกันควรใช้หลอดที่มีสีเดียวกัน ตัวอย่างได้แก่ บริเวณงานเลี้ยงในโรงแรมที่ใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์ และเมื่อเปิดประตูออกไปถึงอีกพื้นที่หนึ่งก็ควรใช้หลอดที่มีสีหลอดใกล้เคียงกัน อาจใช้หลอดวอร์มไวท์ เป็นต้น
ซ) หลอดฟลูออเรสเซนต์ทั่วไป หรือฮาโลฟอตเฟตเมื่อใช้งานไปนาน จะมีปริมาณแสงลดลง15-20% ปัจจุบันมีหลอดฟลูออเรสเซนต์ฟลั๊กการส่องสว่างสูงได้แก่หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบไตรแบนด์ หรือไฟว์แบนด์ที่ให้ปริมาณแสงค่อนข้างคงที่ และมีสเปคตรัมสีดีกว่าหลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา
ฌ) ประสิทธิภาพของหลอดฟลูออเรสเซนต์แบบต่างๆดังนี้
หลอดฟลูออเรสเซนต์ธรรมดา 45-80 ลูเมนต์ต่อวัตต์
หลอดฟลูออเรสเซนต์ฟลั๊กการส่องสว่างสูง 73-93 ลูเมนต์ต่อวัตต์
(ไตรแบนด์ หรือไฟว์แบนด์)
หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ 35-80 ลูเมนต์ต่อวัตต์
ญ) หลอดฟลูออเรสเซนต์มีฮาร์มอนิกส์มากน้อยขึ้นอยู่บัลลาสต์ที่ใช้ร่วมกับหลอด
2.3.2 หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์
ก) ใช้กับโคมไฟส่องลงในกรณีให้แสงทั่วไป ถือว่าประหยัดพลังงานแสงสว่างได้มากเมื่อเทียบกับการใช้หลอดอินแคนเดสเซนต์ในโคมไฟส่องลง
ข) ใช้แทนหลอดอินแคนเดสเซนต์และฮาโลเจนได้กรณีที่เป็นทางด้านการส่องสว่างทั่วไป
ค) การเลือกใช้ชนิดสีของหลอดมีความสำคัญสำหรับงานแต่ละชนิด ถ้าเป็นความส่องสว่างต่ำก็ควรใช้หลอดที่มีอุณหภูมิสีต่ำ คือสีเหลือง หรือหลอดวอร์มไวท์ ถ้าเป็นความส่องสว่างสูงก็ควรใช้หลอดที่มีอุณหภูมิสีสูง เช่นหลอดคูลไวท์
ง) การเปลี่ยนหลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์แทนที่หลอดอินแคนเดสเซนต์ในโคมไฟส่องลงให้ระวังเรื่องการระบายความร้อน ซึ่งทำให้อายุการใช้งานของหลอดสั้นลงมากและระวังเรื่องแสงบาดตา
จ) บริเวณที่จำเป็นต้องปิดไฟไว้นานๆ เช่น ไฟรั้ว ไฟทางเดิน อาจใช้หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ ซึ่งมีอายุการใช้งานนานกว่าหลอดอินแคนเดสเซนต์
ฉ) แบบที่มีบัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์ในตัวจะมีฮาร์มอนิกส์สูง และในกรณีที่ต้องใช้หลอดจำนวนมากให้ระวังปัญหาเรื่องฮาร์มอนิก
ช) หลอดคอมแพกต์ฟลูออเรสเซนต์ที่ใช้ในบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป ทำให้ปริมาณแสงสว่างจากหลอดลดลงมาก ดังนั้นถ้าใช้หลอดประเภทนี้ต้องพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะโคมที่มีการระบายอากาศไม่ดี เป็นต้น
2.3.3 หลอดโซเดียมความดันไอต่ำ
ก) ใช้กับงานที่ไม่ต้องการความถูกต้องสี เช่นไฟถนน งานส่องบริเวณ
ข) หลอดประเภทนี้มีประสิทธิผลสูงสุด เมื่อเทียบกับหลอดทุกชนิด
ค) ไม่ควรใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องสี เช่น บริเวณเบิกเงิน ATM เป็นต้น
ง) ไม่ควรใช้กับงานที่ต้องเปิดหลอดและสว่างทันที เช่น งานทางด้านความปลอดภัย
2.4 หลอดปล่อยประจุความดันไอสูง
หลอดปล่อยประจุความดันไอสูงมี 3 ชนิดคือ หลอดโซเดียมความดันไอสูง หลอดปรอทความดันไอสูง และหลอดเมทัลฮาไลด์ สิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้หลอดประเภทนี้
ก) มุมองศาในการใช้งานหลอด (Burning position) การใช้งานของหลอดต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตซึ่งจะระบุไว้ไม่เช่นนั้นจะมีผลต่อ ประสิทธิผล และอายุการใช้งานของหลอด
ข) แรงดันของแหล่งจ่ายไฟ (Supply voltage) ของหลอดประเภทนี้จะต้องไม่มากหรือน้อยเกินกว่า 5% เพราะจะมีผลต่ออายุการใช้งานและอุณหภูมิสีของหลอด
ค) อุปกรณ์ประกอบ เช่น บัลลาสต์ อิกไนเตอร์วงจรการต่อต้องใช้ให้เหมาะสม มิฉะนั้นจะมีผลต่ออายุการใช้งานของหลอด การจุดติด เป็นต้น
ง) หลอดประเภทนี้ให้แสงสีที่ถูกต้องตามคุณลักษณะของหลอดหลังจากใช้งานไปแล้วประมาณไม่น้อยกว่า 100 ชม.
จ) ไม่ควรใช้กับงานที่ต้องการการเปิดหลอดและสว่างทันที เช่น ระบบไฟฟ้าแสงสว่างฉุกเฉิน
2.4.1 หลอดปรอทความดันไอสูง
ก) ใช้แทนหลอดฟลูออเรสเซนต์กรณีที่ใช้กับเพดานสูงๆ
ข) ประสิทธิผลของหลอดประเภทนี้ต่ำที่สุดในตระกูลหลอดปล่อยประจุความดันไอสูง ระบบที่ใช้หลอดนี้ถูกที่สุดในตระกูลหลอดปล่อยประจุความดันไอสูง เหมาะสำหรับใช้กับงานประเภทโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป แสงสว่างสาธารณะที่ต้องการความถูกต้องสี เช่น ไฟถนน ไฟสาธารณะ บริเวณร้านค้า
2.4.2 หลอดโซเดียมความดันไอสูง
ก) ใช้กับงานที่ไม่พิถีพิถันเรื่องความถูกต้องของสี เช่น โรงงานเหล็ก เป็นต้น
ข) งานที่เหมาะใช้กับหลอดประเภทนี้ได้แก่ โรงงานที่ไม่มีปัญหาเรื่องความถูกต้องของสี ไฟส่องบริเวณที่ไม่ใช่ย่านธุรกิจ ไฟถนน ไฟสวนสาธารณะ
ค) หลอดโซเดียมความดันไอสูงบางประเภทได้มีการพัฒนาให้มีค่าความถูกต้องของสีสูงและเหมาะใช้กับงานได้กว้างขวางขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาคุณสมบัติของหลอดเป็นประเภทไป
ง) ประสิทธิผลของหลอดประเภทนี้สูงที่สุดในตระกูลหลอดปล่อยประจุความดันไอสูง
จ) หลอดประเภทนี้ให้สีเหมาะสำหรับงานทางด้านความปลอดภัย เพราะตามีความไวต่อการมองเห็นที่โทนสีเหลือง
2.4.3 หลอดเมทัลฮาไลด์
ก) ใช้กับงานที่ต้องการความถูกต้องสีมาก เช่น งานพิมพ์สี งานส่องสนามกีฬา และห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
ข) ระวังการใช้หลอดขนาดวัตต์ต่างกันในพื้นที่เดียวกันเนื่องจากสีอาจมีความแตกต่างกัน
หมายเหตุ
- กรณีเพดานไม่สูงกว่า 5 เมตรควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์
- กรณีเพดานอยู่ระหว่าง 4-7 เมตรควรใช้หลอดหลอดปล่อยประจุความดันไอสูงแต่โคมเป็นชนิดโลเบย์
- กรณีเพดานสูงกว่า 6 เมตรควรใช้หลอดหลอดปล่อยประจุความดันไอสูงแต่โคมเป็นชนิดไฮเบย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น